แรง คือสิ่งที่กระทำต่อวัตถุในรูปของการพยายามดึงหรือดันให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่โดยที่วัตถุอาจเคลื่อนที่หรือไม่ก็ได้
เพราะมีแรงอื่นกระทำต่อวัตถุอยู่ด้วย แรงถือเป็นปริมาณเวคเตอร์ที่ต้องกำหนดด้วยขนาดและทิศทาง กฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน กฏข้อที่ 1 ถ้าแรงลัพธ์ที่กระทำกับวัตถุเป็นศูนย์วัตถุจะรักษาสภาพการเคลื่อนที่เดิมถ้าเดิมวัตถุหยุดนิ่งก็จะ
หยุดนิ่งอยู่อย่างนั้น หรือถ้าเดิมเคลื่อนที่ก็จะเคลื่อนที่ต่อไปด้วยความเร็วคงที่ในแนวเส้นตรง จะได้สมการ
ซึ่งใช้กับการคำนวณสมดุลกล
|
วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558
แรงและกฎการเคลื่อนที่
การเคลื่อนที่แนวตรง
การเคลื่อนที่แนวตรงของวัตถุ เป็นการเคลื่อนที่ที่ไม่เปลี่ยนทิศทาง เช่น การเคลื่อนที่ของลูกมะพร้าวเมื่อตกจากต้นสู่พื้นดิน การเคลื่อนที่ของรถยนต์บนถนนตรง การเคลื่อนที่ของนักกีฬาว่ายน้ำในลู่ของสระ เป็นต้น
ในขณะที่รถยนต์เริ่มเคลื่อนที่บนถนนตรง คนขับจะเหยียบคันเร่งทำให้รถเคลื่อนที่เร็วขึ้น ถ้าสังเกตที่เข็มวัดอัตราเร็วบนหน้าปัดของรถ จะพบว่าเข็มเบนมากขึ้น แสดงว่ารถเคลื่อนที่ด้วย อัตราเร็ว (speed) เพิ่มขึ้น และถ้าพิจารณาทิสของการเคลื่อนที่ด้วย ความเร็ว (velocity) เพิ่มขึ้น
เมื่ออ่านค่าจากเข็มชี้อัตราเร็วของรถที่กำลังเคลื่อนที่ในภาพ ขณะนี้รถเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไปทางทิศใต้ หากความเร็วของรถเปลี่ยนแปลง กล่าวได้ว่ารถเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง (acceleration) การเข้าใจปริมาณต่างๆที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ จะทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้นในการขับขี่ยวดยานพาหนะ และนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆได้
อ่านเพิ่มเติม
ในขณะที่รถยนต์เริ่มเคลื่อนที่บนถนนตรง คนขับจะเหยียบคันเร่งทำให้รถเคลื่อนที่เร็วขึ้น ถ้าสังเกตที่เข็มวัดอัตราเร็วบนหน้าปัดของรถ จะพบว่าเข็มเบนมากขึ้น แสดงว่ารถเคลื่อนที่ด้วย อัตราเร็ว (speed) เพิ่มขึ้น และถ้าพิจารณาทิสของการเคลื่อนที่ด้วย ความเร็ว (velocity) เพิ่มขึ้น
เมื่ออ่านค่าจากเข็มชี้อัตราเร็วของรถที่กำลังเคลื่อนที่ในภาพ ขณะนี้รถเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไปทางทิศใต้ หากความเร็วของรถเปลี่ยนแปลง กล่าวได้ว่ารถเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง (acceleration) การเข้าใจปริมาณต่างๆที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ จะทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้นในการขับขี่ยวดยานพาหนะ และนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆได้
อ่านเพิ่มเติม
ปริมาณกายภาพ
ปริมาณกายภาพ ( physical quantity ) เป็นปริมาณทางฟิสิกส์ที่ได้จากข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น มวล แรง ความยาว เวลา อุณหภูมิ เป็นต้น ปริมาณกายภาพแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ปริมาณฐาน ( base unit ) เป็นปริมาณหลักของระบบหน่วยระหว่างชาติ มี 7 ปริมาณ ดังนี้
ปริมาณฐาน ชื่อหน่วย สัญลักษณ์
ความยาว เมตร m
มวล กิโลกรัม kg
เวลา วินาที s
กระแสไฟฟ้า แอมแปร์ A
อุณหภูมิอุณหพลวัติ เคลวิน K
ปริมาณสาร โมล mol
ความเข้มของการส่องสว่าง แคนเดลา cd อ่านเพิ่มเติม
1. ปริมาณฐาน ( base unit ) เป็นปริมาณหลักของระบบหน่วยระหว่างชาติ มี 7 ปริมาณ ดังนี้
ปริมาณฐาน ชื่อหน่วย สัญลักษณ์
ความยาว เมตร m
มวล กิโลกรัม kg
เวลา วินาที s
กระแสไฟฟ้า แอมแปร์ A
อุณหภูมิอุณหพลวัติ เคลวิน K
ปริมาณสาร โมล mol
ความเข้มของการส่องสว่าง แคนเดลา cd อ่านเพิ่มเติม